มาทำความรู้จักกับ 10 ไดโนเสาร์กินพืช

งานวิจัยก่อนหน้านี้เผยว่าไดโนเสาร์ยุคแรกๆ ส่วนใหญ่กินพืช แต่ก็มีความแตกต่างในวิธีที่สัตว์เหล่านี้จัดการ กับ การกินอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบ ทำให้นักวิจัยให้ความสนใจและอยากไขความกระจ่าง ล่าสุด ดร.เดวิด บัตตัน นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยบริสตอล และเบอร์มิงแฮม ในอังกฤษ เผยการวิจัยใหม่ที่ช่วยมีความเข้าใจว่าการกินอาหารของไดโนเสาร์มีวิวัฒนาการอย่างไร

คามาราซอรัส

คามาราซอรัส

เป็น ไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 145 -155 ล้านปีก่อน มีความยาว 18 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 18-20 ตัน กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น นอกจากนี้เจ้า คามาราซอรัส ยังมีคอ และ หางสั้นกว่าไดโนเสาร์ตัวอื่นในสายพันธุ์เดียวกัน หากลองสังเกตใบหน้างามๆดีๆ จะพบว่ากระโหลกศีรษะของมันลึกเข้าไปด้านในและมีรูขนาดใหญ่อยู่เหนือดวงตา ฟันเป็นซี่ถี่เอาไว้งับแล้วรูดใบไม้เรียวออกจากกิ่งชนิดไม่เหลือเศษติดก้านในคำเดียว

อิกัวโนดอน

อิกัวโนดอน

เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลหนึ่งในกลุ่มของ ไดโนเสาร์ กินพืช มีขาหลังใหญ่และแข็งแรง ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปลายยุคจูแรสซิกและต้นยุคครีเทเชียส (ประมาณ 135 ถึง 110 ล้านปีมาแล้ว) ในพื้นที่กว้างใหญ่ตั้งแต่ทวีปยุโรป ไปจนถึงตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออก ประเภทของ ไดโนเสาร์ อิกัวโนดอน เป็นสิ่งมีชีวิตสกุลที่มีขนาดใหญ่ และ พบกระจัดกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้างมากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตวงศ์เดียวกัน ลำตัวของมันยาวกว่า 10 เมตร เมื่อยืดตัวขึ้นจะมีความสูง 5 เมตร หนัก 4-5 ตัน สันนิษฐานว่า อิกัวโนดอน เคลื่อนที่โดยใช้ขาทั้ง 4 ขา แต่ก็อาจเดินได้โดยใช้เพียงสองขา มือที่ขาหน้าของอิกัวโนดอนมี 5 นิ้ว หัวแม่มือแข็งแรง และ ชี้ขึ้นตั้งฉากกับฝ่ามือ ซากดึกดำบรรพ์และรอยเท้าที่พบทำให้เชื่อว่า อิกัวโนดอน มักอยู่เป็นฝูง

เคนโทรซอรัส

เคนโทรซอรัส

ชื่อไดโนเสาร์กินพืช ของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูกอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลาย ถูกค้นพบในประเทศแทนซาเนีย ขนาดทั่วไปประมาณ 4.5 เมตร (15 ฟุต) มีน้ำหนักประมาณหนึ่งตัน (1.1 ตัน) ลักษณะการเดินสี่ขาตรง อาวุธหลักคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร

ทีนอนโตซอรัส

ทีนอนโตซอรัส

ทีนอนโตซอรัส ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ชื่อของมันมีความหมายแบบนี้เพราะมีเส้นเอ็นแข็งๆ ตั้งแต่หลังไปจนถึงหาง พบในยุคครีเทเซียสตอนต้น ฟอสซิลของมันค้นพบที่อเมริกาเหนือและแอฟริกา ขนาด 5 เมตร เวลายืนมันใช้ขาหลัง เวลาเดินมันจะใช้ขาทั้งหมด อาวุธของมันคือหางที่มีขนาดใหญ่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อของมัน เพื่อใช่ป้องกันตัวจากไดโนนีคัสที่เป็นนักล่ายุคเดียวกับมัน

แคมป์โทซอรัส

แคมป์โทซอรัส

แคมป์โทซอรัส มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อหมาย ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว และประมาณน้ำหนัก 785-874 กิโลกรัม เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในยุคครีเทเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า

ซัลตาซอรัส

ซัลตาซอรัส

ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอดในกลุ่ม ไททันโนซอร์ ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 – 65 ล้านปี ในอเมริกาใต้ และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12 เมตร หนัก 7 ตัน แต่ก็นับว่าใหญ่โตสำหรับสัตว์ในปัจจุบัน ซัลตาซอรัสมีช่วงคอ กับ ส่วนหางที่สั้นเมื่อเทียบกับชนิดและมีช่วงขาที่สั้นม่อต้อ แต่ลักษณะเด่นของมัน คือ มันเป็นซอโรพอดชนิดแรกที่พบว่า มีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากผิวหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์ หุ้มเกราะ เรียกว่า Osteoderm ซึ่งสามารถพบปุ่มเช่นเดียวกันนี้กับไททันโนซอร์ชนิดอื่นบ้าง เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่าง อิกัวโนดอน

ไทรเซราทอปส์

ไทรเซราทอปส์

ชื่อไดโนเสาร์ เป็นสกุลไดโนเสาร์กินพืชที่สูญพันธุ์แล้วที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปลาย Maastrichtian ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ประมาณ 68 ล้านปี ก่อนในบริเวณที่ปัจจุบันคืออเมริกาเหนือ มันเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายในจำพวก ไดโนเสา ไม่ใช่นก และ สูญพันธุ์ในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีนเมื่อ 66 ล้านปีก่อน ไทรเซราทอปส์มีกระโหลกที่มีเขา 3 เขา แถบริมกระดูกขนาดใหญ่ และร่างกายขนาดใหญ่ที่เดินสี่ขา โดยเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีความยาวถึง 9 เมตร (29.5 ฟุต) และ ไทรเซราทอปส์ มักแสดงร่วมกับหรือเป็นเหยื่อของไทแรนโนซอรัส ถึงแม้ว่ายังไม่มีความแน่ใจว่าทั้งสองตัวนี้เคยสู้กันเหมือนที่พิพิธภัณฑ์จัดแสดง หรือ ตามภาพยอดนิยมหรือไม่ก็ตาม การใช้งานของแถบริมกระดูกและเขาสามกันบนหัวยังคงเป็นที่ถกเถียง ในอดีต เขานี้ถูกมองเป็นอาวุธป้องกันนักล่า แต่ในช่วงล่าสุดได้ตีความว่าคุณสมบัตินี้มักใช้ในการระบุสปีชีส์ หาคู่ และแสดงความเป็นใหญ่ เหมือนกับเขากวางและกีบเท้าในปัจจุบัน

ซิตตะโกซอรัส

ซิตตะโกซอรัส

ซิตตะโกซอรัส หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว พันธุ์ไดโนเสาร์ มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า “ไดโนเสาร์นกแก้ว” หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน Psittacosaurus เป็นหนึ่งในตระกูล Ceratopsians แต่สายพันธ์ใกล้เคียงกับ Triceratops มากกว่า ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า “ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี” เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิล

สเตโกซอรัส

สเตโกซอรัส

สเตโกซอรัส ชื่อของมันหมายถึง กิ้งก่ามีหลังคา ไดโนเสาร์พันธุ์ต่างๆ เป็นไดโนเสาร์กินพืชจากวงศ์ Thyreophora หรือกลุ่มไดโนเสาร์หุ้มเกราะ โดยมันอาศัยอยู่ในยุคจูราสซิกตอนปลายระหว่าง 155 – 145 ล้านปีก่อน โดยมันมีลักษณะเด่นคือ มีแผ่นหนามรูปทรงห้าเหลี่ยมทอดยาวเป็นคู่ๆ อยู่บนหลังตั้งแต่ท้ายทอยจนเกือบจรดปลายหาง ส่วนปลายหางนั้นก็มีอาวุธที่ถือเป็นอีกจุดเด่นของมันเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั่นก็คือ หนามขนาดใหญ่ทั้งสี่ โดยมันใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่า สเตโกซอรัสเป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ โดยมันมีขนาดโดยประมาณ 6-7 เมตร (S.stenops) มีลักษณะเด่นก็คือ มีขาหน้าที่สั้น ขาหลังยาว โดยหางของมันจะชูสูงขึ้นไปในอากาศ มันมีแผ่นหนามรูปห้าเหลี่ยมทอดยาวเป็นคู่ๆ อยู่บนหลัง

อูราโนซอรัส

อูราโนซอรัส

อูราโนซอรัส ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าผู้กล้าหาญ ตรงกลางที่หลังมีกระดูกที่เหมือนกับหนามโผล่ขึ้นมาเรียงเป็นแถวและมีหนังห่อหุ้มอยู่ เหมือนพวกสไปโนซอริดซ์ ชื่อไดโนเสาร์ทั้งหมด แต่กลับเป็นพวกอิกัวโนดอน ครีบนี้มีหน้าที่ปรับอุณภูมิของร่างกาย ขนาด 7 เมตร อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน พบที่ทวีปแอฟริกาเป็นเหยื่อที่ล่าง่ายๆของสไปโนซอรัสที่ยาว 17 เมตร

ติดตามข่าวสารได้ที่ : https://historydinosaur.com

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : ไดโนเสาร์กินเนื้อ