พันธุ์ไดโนเสาร์

10 พันธุ์ไดโนเสาร์ ที่น่ารู้จัก

ไดโนเสาร์ (อังกฤษ: dinosaur) พันธุ์ไดโนเสาร์ เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ประวัติไดโนเสาร์ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไดโนเสาร์มีกี่สายพันธุ์ แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก

1. ที-เร็กซ์ ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์

ไดโนเสาร์ทีเร็กซ์ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีถิ่นอาศัยตลอดทั่วตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ซึ่งกว้างกว่าไดโนเสาร์วงศ์เดียวกัน ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายหรือประมาณ 68 ถึง 65 ล้านปีมาแล้ว ไทแรนโนซอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์พวกสุดท้ายและทีเร็กซ์เกี่ยวข้องกับนก จำพวกนกนักล่าอย่าง นกอินทรีหรือเหยี่ยว ซึ่งมีชีวิตอยู่ก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามในยุคครีเทเชียส

2.สเตโกซอรัส

สเตโกซอรัส (Stegosaurus) สเตโกซอรัส (กิ้งก่ามีหลังคา) เป็นไดโนเสาร์กินพืชจำพวกสะโพกนก (Ornithischia) ที่มีเกราะป้องกันตัวจำพวกแรกๆ มีลักษณะโดดเด่น มีขาหน้าสั้น และปากเล็ก มีแผ่นเกล็ดเรียงบนหลังยาวไปจนถึงปลายหางแผ่นเกล็ดนี้มีไว้ขู่ศัตรูโดดสูบฉีดเลือดไปที่เกล็ด ซึ่งสันนิษฐานว่ามันมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมากในบริเวณนี้ และแผ่นกระดูกนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับป้องกันตัว แต่มีไว้เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้มันยังหนามแหลมที่ปลายหาง ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจาก ไดโนเสาร์กินเนื้อ ในยุคนั้นได้ดี อย่าง อัลโลซอรัส รูปร่างดูน่ากลัวแต่สมองมันเล็กกว่าถั่วเขียวและหนักไม่ถึง 70 กรัม ลำตัวยาว 9 เมตรหนัก 2-3 ตันอาศัยอยู่ยุคจูแรสซิก 170-130 ล้านปี

3.พาราซอโรโลฟัส

พาราซอโรโลฟัส (อังกฤษ: Parasaurolophus) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ ในยุคครีเตเชียสตอนปลายพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น ในรัฐอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดา หรือรัฐยูทาห์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ลักษณะเด่นของพาราซอโรโลพัส คือ หงอนที่มีลักษณะเหมือนท่อกลวงยาว บางตัวอาจจะมีหงอนยาวถึง 1.5 เมตร มีไว้ส่งเสียงหาพวก สามารถเดินได้ทั้ง 2 เท้าและ 4 เท้า มีขนาดใหญ่โตพอสมควร เท่าที่ค้นพบไดโนเสาร์พันธุ์นี้จะมีความยาวประมาณ 10 เมตร ไดโนเสาร์กินพืช เป็นอาหาร

4.แองคีโลซอรัส

แองไคโลซอรัส หรือ แองคิโลซอรัส (อังกฤษ: Ankylosaurus) เป็น ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในสกุล แองคิโลซอร์ (อังกฤษ: ankylosaurid) อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียส ในทวีปอเมริกาเหนือ โครงกระดูกของ แองไคโลซอรัส ที่ค้นพบยังไม่สมบูรณ์ แองไคโลซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะในแบบสกุล แองคิโลซอร์ที่มีน้ำหนักตัวหนักมีเกราะแข็งหุ้มทั่วทั้งตัวมันอึดมาก และมีลูกตุ้มขนาดใหญ่(ลักษณะคล้ายกับรังผึ้ง)สำหรับไว้ป้องกันตัวจากนักล่าในยุคนั้นอย่าง ไทรันโนซอรัส กินพืชเป็นอาหาร มีฟันขนาดเล็กไว้สำหรับบดเคี้ยวพืช ปากมีลักษณะคล้ายนกแก้ว หางของแองไคโลซอรัสที่มีลูกตุ้มขนาดใหญ่

5.เทอราโนดอน หรือ นก

ไดโนเสาร์มีปีก เทอราโนดอน เป็นสกุลหนึ่งของ เทอโรซอร์ ซึ่งรวมถึงสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ที่รู้จักกันส่วนใหญ่ ขนาดของปีกยาวมากกว่า 6 เมตร (20 ฟุต). พวกมันอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนปลายในรัฐแคนซัส, อะลาบามา, เนบราสก้า, ไวโอมิง และเซาว์ดาโกตาในช่วงปัจจุบัน มีฟอสซิลทิแรโนดอนมากกว่าเทอโรซอร์ชนิดอื่น โดยประมาณ 1,200 ตัวอย่างรู้จักในแวดวงวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มักจะพบในสภาพกะโหลก และโครงกระดูกข้อต่อที่สมบูรณ์

6.แกลลิมิมัส

แกลลิไมมัส หรือ แกลลิมิมัส (อังกฤษ: Gallimimus,[/ˌɡælɪˈmaɪməs/ GAL-i-MY-məs]) เป็นไดโนเสาร์ เทโรพอด ที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียสช่วง 70-74 ล้านปีก่อน ฟอสซิลถูกค้นพบในประเทศมองโกเลีย ทวีปเอเชีย ชื่อของ แกลลิไมมัส มีความหมายว่าไก่จำแลง เนื่องจากเป็นไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายนกกระจอกเทศ มีคอยาว เบ้าตาใหญ่ หางยาว หัวเล็ก ขากรรไกรยาว ไม่มีฟัน ขาหน้าค่อนข้างยาวและแข็งแรง มือมี 3 นิ้ว สันนิษฐานว่ามีขนคล้าย เครือญาติ แกลลิไมมัสเป็นญาติกับออร์นิโทไมมัส ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ถูกพบคนละที่ โดยออร์นิโทไมมัสถูกพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนแกลลิไมมัสถูกพบที่ทวีปเอเชีย คาดว่าแกลลิไมมัสมีญาติอยู่ที่ประเทศไทยคือ กินรีไมมัส

7.โอวิแรปเตอร์

โอวิแรปเตอร์(อังกฤษ: Oviraptor)มีหงอนเป็นเอกลักษณ์ ยาว 2 เมตร ส่วนสูงประมาณหัวเข่าของผู้ใหญ่ที่โตเต็มไวแล้ว พบที่มองโกเลีย มีการค้นพบฟอสซิลของมันอยู่กับลูกในรังของมัน ในท่ากกไข่ หลายชุด เป็นหลักฐานที่ระบุว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่เลี้ยงลูกของมันอย่างดี ฟอสซิลในท่ากกไข่ของโอวิแรปเตอร์ ตัวนั้นอาจตายตอนมีพายุทรายพัดมา พบในชั้นหินของยุคครีเทเซียส ช่วงเวลา 90-85 ล้านปี

8.ไทรเซอราทอปส์

ไทรเซราทอปส์ (อังกฤษ: triceratops) เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว 6-8ตันและยาวได้กว่า 6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซราทอปส์จะกินเฟิร์น สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจะงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซราทอปส์ แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน

9.แบรคีโอซอรัส

แบรคิโอซอรัส บราชิโอซอรัส ก็เรียกได้ (อังกฤษ: Brachiosaurus) หรือ คอยาว เป็นซอโรพอดขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 30 เมตร สูง 13-15 เมตร หนัก 78 ตันหรือเท่ากับช้างแอฟริกา 15 เชือก อาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน ขุดค้นพบในอเมริกาเหนือและแอฟริกา

10.สไปโนซอรัส

สไปโนซอรัส (อังกฤษ: Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีกระโดง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายซาฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1910 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวบาวาเรีย นาม เอิร์ล สโตรเมอร์ โดยขุดค้นไปตามชายขอบด้านตะวันออกของระบบแม่น้ำโบราณซึ่งมีหินในชั้นแคมเบรียนก่อตัวเป็นพรมแดนด้านตะวันตก สไปโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อที่เดิน 2 ขาเป็นหลัก ส่วนอาหารนั้นส่วนมากจะเป็นปลา อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลางมีไดโนเสาร์คาร์คาโรดอนโทซอริดส์ขนาดใหญ่ คือ คาร์คาโรดอนโทซอรัส

ติดตามข่าวสารได้ที่ : https://historydinosaur.com

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : สายพันธุ์ไดโนเสาร์